เรียนรู้รูปแบบของเจดีย์กันเถอะ

183 views 6:57 am 0 Comments May 20, 2023
รูปแบบของเจดีย์ 

เจดีย์ ถือเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งที่นิยมกันในสมัยโบราณ ซึ่งปรากฎเป็นหลักฐานทางประวัติสาสตร์ให้เราได้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งเจดีย์เป็นงก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงและเคารพบูชา สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้วย 

รูปแบบของเจดีย์ 

  1. เจดีย์ทรงปราสาท เป็นรูปแบบของเรือนที่มีหลายชั้นซ้อนกัน (ชั้นซ้อน) หรือ ที่มีหลังคาลาดหลายชั้นซ้อนลดหลั่นกัน (หลังคาซ้อน) ตอนกลางของเจดีย์ทรงปราสาทอาจมีหรือไม่มีห้องคูหาก็ได้ เรียกส่วนนี้ว่า เรือนธาตุ เป็นส่วนสำคัญที่ไว้ประดิษฐานพระพุทธรูป
  2. เจดีย์ทรงปรางค์ เป็นเจดีย์ที่มีทรงคล้ายดอกข้าวโพด ประกอบด้วยส่วนฐานรองรับส่วนกลางคือเรือนธาตุ และส่วนบนเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปดังกล่าวนี้ คลี่คลายมาจากรูปแบบของปราสาทขอม แต่เจดีย์ทรงปรางค์โปร่งเพรียวกว่าปราสาทแบบขอม นิยมเรียกเจดีย์ทรงปรางค์อย่างสั้นๆว่า พระปรางค์ ทั้งยังใช้เรียกต้นแบบคือปราสาทขอมด้วย
  3. เจดีย์ทรงระฆัง เจดีย์ที่มี องค์ระฆัง เป็นลักษณะเด่น โดยมีแท่นฐานรองรับอยู่ส่วนล่าง เหนือองค์ระฆังเป็นส่วนยอด มี บัลลังก์ รูปสี่เหลี่ยมต่อขึ้นไปเป็นทรงกรวยเป็น ปล้องไฉน และปลี คำว่า ทรงระฆัง มีที่เรียกว่า ทรงลอม หรือ ทรงลอมฟาง เรียกว่า รูปบาตร ก็มี แต่ไม่เป็นที่คุ้นเคยกันเหมือนทรงระฆัง เพราะรูปคลี่คล้ายมาใกล้กับระฆัง
  4. เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่าง ที่เรียกตามลักษณะของยอดโดยตรงซึ่งคล้ายกับดอกบัวตูม ดังบางองค์ทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูมนี้ด้วย รูปทรงของเจดีย์เพระยอดสอบขึ้นจากส่วนล่าง เรื่อยขึ้นไปตามจังหวะของชุดฐานที่ซ้อนลดหลั่นกันเพื่อรับเรือนธาตุทรงแท่ง และยอดทรงดอกบัวตูม
  5. เจดีย์ทรงเครื่อง คือ เจดีย์ทรงระฆังกลม หรือ ทรงระฆังเหลี่ยมย่อมุมก็ตาม ที่มีลักษณะเฉพาะที่เจดีย์ย่อมุมแบบอื่นไม่มี รวมทั้งการตกแต่งด้วยลายปูนปั้นไว้ตามองค์ประกอบต่างๆ คงเกิดขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 มีการประดับลวดลายปูนปั้นที่ฐานซึ่งเป็นชุดฐานสิงห์มี บัวกลุ่ม รองรับองค์ระฆัง ตัวองค์ระฆังเองก็มักมีลวดลายประดับอยู่ด้วย
  6. เจดีย์ย่อมุม แสดงถึงลักษณะสำคัญที่แตกต่างเจดีย์ทรงระฆังกลม จำนวนมุมที่ย่อก็มักระบุอยู่ด้วย เช่น เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบชื่อเรียก เจดีย์ย่อมุม ซึ่งสะท้อนลักษณะที่เปลี่ยนไปของทรงระฆัง จากกลมก็กลายมาเป็นเหลี่ยม ยังทั้งขนาดขององค์ระฆังเหลี่ยมก็เล็กลง ทำให้ได้รูปทรงเจดีย์ที่โปร่งเพรียวยิ่งกว่า การที่คำว่าเจดีย์ย่อมุม มีคำว่า ไม้ ต่อท้ายอยู่ด้วย เกิดจากการที่ยืมคำของงานไม้มาใช้ แต่เจดีย์ล้วนเป็งงานก่อ จึงทำให้เข้าใจกันสับสน

ต้องยอมรับว่าทรงเจดีย์ที่ปรากฏในบ้านเรานั้นมีความหลากหลายอย่างมาก นั่นแสดงถึงวัฒนธรรมต่างๆ ที่เข้ามามีอิทธิพล ไม่ว่าจะด้วยการเป็นเมืองขึ้น หรือรูปแบบอื่นๆ ที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์มาจนถึงทุกวันนี้

Tags: